สถานการณ์ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่
มีรายงานการระบาดของไข้หวัดใหญ่และปอดบวมในประเทศเม็กซิโก ตั้งแต่กลางเดือนมีนาคม 2552 และทวีความรุนแรงมากขึ้นในสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยมีคนป่วยรวม 854 คนเสียชีวิต 59 คน ได้มีการเก็บตัวอย่างผู้ป่วยรวม 50 ราย ตรวจพบว่า 17 ราย เกิดจากเชื้อไข้หวัดใหญ่ชนิด A สายพันธุ์ H1N1 ซึ่งเป็นไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ของคน ที่มีสารพันธุกรรมของเชื้อไข้หวัดใหญ่ในหมูผสมอยู่ด้วย ต่อมามีการพบผู้ป่วยยืนยันในประเทศสหรัฐอเมริกาอีก 7 ราย ที่ป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่จากเชื้อเดียวกัน ในรัฐแคลิฟอร์เนีย และ เท็กซัส ซึ่งมีชายแดนติดกับประเทศเม็กซิโก แต่ไม่มีผู้เสียชีวิต
เนื่องจากเป็นเชื้อสายพันธุ์ใหม่และข้อมูลเบื้องต้นจากการสอบสวนโรค บ่งชี้ว่า การระบาดในขณะนี้ เป็นการติดต่อจากคนสู่คน และมีผู้เสียชีวิต ทำให้เกิดความกังวลว่าอาจเกิดการระบาดใหญ่ขยายตัวไปประเทศอื่น องค์การอนามัยโลกกำลังติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและกำลังพิจารณาให้คำแนะนำเรื่องการเดินทางระหว่างประเทศ
สำหรับประเทศไทย จากการเฝ้าระวังโรคของสำนักระบาดวิทยา ตั้งแต่ต้นปี 2552 จนถึงขณะนี้ พบผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ จำนวน 3,159 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต ซึ่งไม่แตกต่างกับช่วงเวลาเดียวกันในปี 2551 และในประเทศไทยยังไม่เคยพบเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ ดังกล่าว
แหล่งที่มา http://beid.ddc.moph.go.th/th/index.php?option=com_content&task=view&id=419844&Itemid=199
สิ่งที่กระทรวงสาธารณสุขกำลังดำเนินการ
ได้มีการประชุมเตรียมการระหว่างหน่วยงานภายในกระทรวงที่เกี่ยวข้อง และติดตามสถานการณ์ทุกวัน เพื่อเร่งรัดการเฝ้าระวัง การตรวจวินิจฉัย การดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วย การเดินทางระหว่างประเทศ การเตรียมเครื่องมือและเวชภัณฑ์ ทั้งนี้ ได้มีการประสานงานกับองค์การอนามัยโลกและศูนย์ป้องกันควบคุมโรคแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา อย่างใกล้ชิด
คำแนะนำสำหรับประชาชน
เนื่องจากเชื้อนี้แพร่ติดต่อเช่นเดียวกันกับโรคไข้หวัดใหญ่ในคนโดยทั่วไป โดยเชื้อที่อยู่ในเสมหะน้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย แพร่ไปยังผู้อื่น โดยการไอหรือจามรดกันในระยะใกล้ชิด หรือติดจากมือและสิ่งของที่มีเชื้อปนเปื้อนอยู่ และเชื้อจะเข้าสู่ร่างกายทางจมูกและตา เช่น การแคะจมูก การขยี้ตา ไม่ติดต่อจากการรับประทานเนื้อหมู ผู้ที่มีอาการป่วย คล้ายไข้หวัดใหญ่ เช่น มีไข้ ปวดเมื่อยตามร่างกาย ไอ มีน้ำมูก ควรสวมหน้ากากอนามัย และหลีกเลี่ยงการไปในที่ชุมชน หรือสถานที่แออัด ประชาชนทั่วไปควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง โดยรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผัก ผลไม้ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ งดสูบบุหรี่ งดดื่มเหล้า ล้างมือบ่อยๆ ผู้ที่มีแผนการเดินทางไปยังรัฐแคลิฟอร์เนียและเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศเม็กซิโก ควรติดตามสถานการณ์และคำแนะนำจากกระทรวงสาธารณสุขอย่างใกล้ชิดต่อไป
วันพฤหัสบดีที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2552
ไข้หวัดแม็กซิโก 2
ชี้แจงต่อคณะรัฐมนตรี
การนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี เรื่อง สถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่ ที่ระบาดในเม็กซิโก วันที่ 28 เมษายน 2552
กระทรวงสาธารณสุข วันที่ 27 เมษายน 2552
1. สถานการณ์โรค
องค์การอนามัยโลกได้รายงานการระบาดของโรคปอดบวมในประเทศเม็กซิโก ตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม 2552 และทวีความรุนแรงมากขึ้นในเดือนเมษายน ข้อมูล ณ วันที่ 24 เม.ย.52 พบผู้ป่วยมากกว่า 854 ราย เสียชีวิต 59 ราย ซึ่งผลตรวจทางห้องปฏิบัติการพบผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยันว่า มีสาเหตุจากเชื้อไข้หวัดใหญ่ชนิด A สายพันธุ์ H1N1 ซึ่งเป็นไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ของคน ที่มีสารพันธุกรรมของเชื้อไข้หวัดใหญ่ในหมูผสมอยู่ด้วย จำนวน 18 ราย ต่อมามีการพบผู้ป่วยยืนยันในประเทศสหรัฐอเมริกาอีก 20 ราย ที่ป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่จากเชื้อเดียวกัน ในมลรัฐแคลิฟอร์เนีย 7 ราย เท็กซัส 2 ราย ซึ่งทั้ง 2 มลรัฐนี้มีชายแดนติดกับประเทศเม็กซิโก มลรัฐนิวยอร์ค 8 ราย แคนซัส 2 ราย โอไฮโอ 1 ราย และ แต่ไม่มีผู้เสียชีวิต
เนื่องจากเป็นเชื้อสายพันธุ์ใหม่ และข้อมูลการสอบสวนโรค บ่งชี้ว่า การระบาดเป็นการติดต่อจากคนสู่คน และมีผู้เสียชีวิต ทำให้เกิดความกังวลว่าอาจเกิดการระบาดใหญ่ขยายตัวไปประเทศอื่น องค์การอนามัยโลกกำลังส่งผู้เชี่ยวชาญประสานงานป้องกันควบคุมโรคร่วมกับรัฐบาลเม็กซิโก รวมทั้งติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด โดยขณะนี้ องค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้สถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่ที่ระบาดในเม็กซิโก เป็นภาวะฉุกเฉินทางด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ (Public Health Emergency of International Concern : PHEIC ). เมื่อวันที่ 25 เม.ย.52 และแจ้งเตือนให้ทุกประเทศเพิ่มระดับความเข้มข้นของการเฝ้าระวังการระบาดของกลุ่มอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่และปอดอักเสบชนิดรุนแรง แต่ยังไม่แนะนำให้จำกัดการเดินทางหรือการค้าระหว่างประเทศ
อย่างไรก็ดี หลายประเทศได้ออกมาตรการคัดกรองผู้เดินทางจากเม็กซิโกและสหรัฐอเมริกาแล้ว เช่น ประเทศจีน รัสเซีย ไต้หวัน โบลิเวีย มีมาตรการกักกันผู้ป่วยที่มีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ ฮ่องกงและเกาหลีใต้ออกคำเตือนเรื่องการเดินทางไปยังเมืองเม็กซิโกซิตี้และอีก 3 จังหวัด โปแลนด์และเวเนซุเอลาแนะนำให้ประชาชนของตนเลื่อนการเดินทางไปยังประเทศเม็กซิโกและสหรัฐอเมริกา ในขณะที่บางประเทศได้เพิ่มมาตรการคัดกรองสุกรและเข้มงวดหรือห้ามการนำเข้าเนื้อสุกร
สำหรับประเทศไทย จากการเฝ้าระวังโรคของกระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่ต้นปี 2552 จนถึงขณะนี้ พบผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ จำนวน 3,159 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต ซึ่งไม่แตกต่างกับช่วงเวลาเดียวกันในปี 2551 และจากการตรวจชันสูตรทางห้องปฏิบัติการ ในประเทศไทยยังไม่เคยพบเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ ดังกล่าว
ในการรายงานโรคนี้ ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า “Swine Flu” หรือไข้หวัดใหญ่สุกร โดยปกติแล้ว ไข้หวัดใหญ่สุกรเป็นโรคทางเดินหายใจที่เกิดขึ้นในสุกร มีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ หลายชนิด เช่น H1N1, H1N2, H3N1, H3N2 และแต่ละชนิดมีหลากหลายสายพันธุ์ ตามปกติการเกิดโรคในสุกร บางครั้งอาจมีผู้ติดเชื้อจากสุกรและป่วยซึ่งไม่บ่อยนัก การติดเชื้อเกิดโดย คนหายใจเอาละอองฝอยเมื่อสุกรไอ หรือจาม เข้าไป หรือการสัมผัสกับสุกร หรือสิ่งแวดล้อมที่สุกรอาศัยอยู่ อย่างไรก็ตามเชื้อไข้หวัดใหญ่ที่ระบาดในเม็กซิโกนี้ ผลการตรวจวิเคราะห์ในระดับพันธุกรรม พบว่า เป็นเชื้อสายพันธุ์ใหม่ที่พบในคน ซึ่งยังไม่เคยพบในสุกรมาก่อน และการระบาดดังกล่าว ไม่มีรายงานโรคนี้ระบาดในสุกรทั้งในประเทศเม็กซิโกและสหรัฐอเมริกา และผลการสอบสวนโรค ไม่พบผู้ใดติดโรคจากสุกร หากแต่เป็นการแพร่กระจายโรคอย่างรวดเร็วจากคนสู่คน เชื้อนี้มีความไวต่อยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์ และคาดว่า วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลของคน ซึ่งมีสายพันธุ์ H1N1 ประกอบอยู่ด้วย ไม่สามารถใช้ป้องกันเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ตัวนี้ได้
2. มาตรการและการดำเนินการของกระทรวงสาธารณสุข
ตั้งแต่ ปีพ.ศ. 2547 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนของไทย ได้ดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ระดับชาติในการแก้ไขปัญหาไข้หวัดนกรวมทั้งการเตรียมความพร้อมในการป้องกันและแก้ปัญหาการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ มาเป็นลำดับ ดังนั้นเมื่อเกิดการระบาดของไข้หวัดใหญ่ในเม็กซิโก จึงสามารถปรับใช้มาตรการดำเนินงานที่ได้เตรียมความพร้อมไว้ได้ สำหรับการระบาดในครั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินมาตรการแล้ว ดังนี้
2.1 เร่งรัดและเพิ่มระดับความเข้มข้นการเฝ้าระวังโรค
เร่งรัดและเพิ่มระดับความเข้มข้นการเฝ้าระวังการรายงานผู้ป่วยที่มีอยู่เดิม รวมทั้งขยายขอบเขตให้ครอบคลุมผู้ที่มีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่และปอดอักเสบรุนแรง โดยได้จัดทำแนวทางปฏิบัติเผยแพร่ให้กับหน่วยงานสถานบริการสาธารณสุขทั่วประเทศ กับ ทีมเฝ้าระวังและสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) ซึ่งมีจำนวนมากกว่า 1,030 ทีม และ ครอบคลุมทุกจังหวัดและอำเภอ เพื่อดำเนินการค้นหาผู้ป่วย ตรวจจับการระบาดได้อย่างรวดเร็ว และ ควบคุมได้ทันท่วงที
2.2 เตรียมพร้อมด้านการตรวจยืนยันเชื้อทางห้องปฏิบัติการ
ขณะนี้ทั่วประเทศ มีห้องตรวจทางห้องปฏิบัติการที่สามารถตรวจเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ซึ่งสามารถรายงานผลการตรวจได้ภายใน 4 ชั่วโมง มีจำนวน 14 แห่ง มีรถเคลื่อนที่ที่สามารถตรวจยืนยันเชื้อของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ 6 คัน เพราะมีการเชื่อมโยงเครือข่ายการชันสูตรทางห้องปฏิบัติการกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและศิริราชพยาบาล รวมทั้งองค์การอนามัยโลกและศูนย์ความร่วมมือไทย-สหรัฐ ด้านสาธารณสุข
2.3 เตรียมความพร้อมด้านการดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วย
เพื่อการวินิจฉัยโรคอย่างรวดเร็วและให้การรักษาได้ทันท่วงที กระทรวงสาธารณสุขได้เตรียมความพร้อมสำหรับสถานพยาบาล โดยจัดทำแนวทางการคัดกรองผู้ป่วยและการรักษาพยาบาล ส่งให้โรงพยาบาลต่างๆ ทั่วประเทศ และขณะนี้ได้มีการปรับปรุงตามสถานการณ์โรคเป็นระยะๆ รวมทั้งโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขได้จัดให้มีห้องแยกเพื่อดูแลผู้ป่วยทุกแห่ง ไว้พร้อมแล้ว
2.4 สำรองเวชภัณฑ์ อุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ
กระทรวงวาสาธารณสุข ได้สำรองยาต้านไวรัสและวัสดุ อุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อของบุคลากรสาธารณสุขไว้ เพื่อรักษาและป้องกันโรค โดยมีความมั่นใจว่าเพียงพอต่อการระบาดของโรค โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะแรกของการระบาด ซึ่งหากการระบาดของโรคขยายวงกว้างขึ้นภายในประเทศ กระทรวงสาธารณสุขก็พร้อมที่จะเพิ่มกำลังการผลิตสูงสุด เพื่อให้ได้เป้าหมายเพียงพอต่อความต้องการ
2.5 ให้สุขศึกษาและประชาสัมพันธ์
เพื่อให้ข้อมูลประชาชน ให้รู้ถึงสถานการณ์ที่ถูกต้องและรู้วิธีในการป้องกันโรคอย่างครบถ้วน โดยออกประกาศคำแนะนำประชาชนในการป้องกันโรคและดูแลสุขภาพผ่านช่องทางสื่อต่างๆ รวมทั้งเผยแพร่ทางเว็บไซต์กระทรวงสาธารณสุข (www.moph.go.th) และ สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ (http:// beid.ddc.moph.go.th) และ ศูนย์บริการข่าวสารเบอร์ 02-590-3333 ตลอด 24 ชั่วโมง โดย กระทรวงสาธารณสุขจะเสนอ ครม. ให้แต่งตั้งคณะกรรมการระดับชาติ เพื่อให้มีการประสานงานกับหน่วยงานทุกภาคส่วน
2.6 ตรวจผู้โดยสารที่เดินทางมาจากต่างประเทศ
กรมควบคุมโรคได้ติดตั้งเครื่องตรวจวัดอุณหภูมิ (Thermo Scan) ที่สนามบินนานาชาติ จังหวัดภูเก็ต เชียงใหม่ และ สนามบินสุวรรณภูมิ จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อคัดกรองผู้โดยสารที่มีอาการไข้ การเตรียมพร้อมที่จะใช้งานเมื่อมีความจำเป็นโดยจะดูแลผู้เดินทางให้ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด พร้อมแจกคำเตือนสุขภาพสำหรับผู้เดินทางเข้ามาในประเทศจากพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค ทั้งนี้เพื่อสร้างความมั่นใจให้ประชาชน ถึงความพร้อมมาตรการป้องกันควบคุมโรคของประเทศ อย่างมีประสิทธิภาพ
3. การกำกับดูแลการดำเนินงาน
การดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ระดับชาติข้างต้น อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ คณะกรรมการอำนวยการ ป้องกัน ควบคุม แก้ไขสถานการณ์โรคไข้หวัดนก และการเตรียมพร้อมสำหรับการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ ซึ่งได้เริ่มมีการแต่งตั้ง โดยคณะรัฐมนตรี มาตั้งแต่ปีพ.ศ.2547 และมีการทบทวนแต่งตั้งใหม่ เมื่อมีการปรับเปลี่ยนรัฐบาลแต่ละครั้ง ในขณะนี้ กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ทบทวนองค์ประกอบของคณะกรรมการดังกล่าว และนำเสนอต่อสำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2552 ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างรอการพิจารณาลงนามแต่งตั้งโดย พณฯ ท่านนายกรัฐมนตรี หากได้รับการลงนามแต่งตั้งแล้ว คณะกรรมการชุดนี้จะเป็นกลไกหลักในการประสานความร่วมมือระดับชาติ เพื่อรับมือกับการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ได้ต่อไป
4. การประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วน
กระทรวงสาธารณสุขจะเป็นแกนหลัก ในการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานทุกภาคส่วน เพื่อเตรียมพร้อมและรับมือกับการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ ตามแผนยุทธศาสตร์ระดับชาติและแผนปฏิบัติการแม่บทการเตรียมความพร้อมสำหรับการระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่ พ.ศ. 2552 ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้นำเสนอต่อ ครม. เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2552 และ ขณะนี้ กำลังอยู่ระหว่างรอการพิจารณาจากคณะรัฐมนตรี
แหล่งที่มา http://beid.ddc.moph.go.th/th/index.php?option=com_content&task=view&id=419844&Itemid=199
การนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี เรื่อง สถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่ ที่ระบาดในเม็กซิโก วันที่ 28 เมษายน 2552
กระทรวงสาธารณสุข วันที่ 27 เมษายน 2552
1. สถานการณ์โรค
องค์การอนามัยโลกได้รายงานการระบาดของโรคปอดบวมในประเทศเม็กซิโก ตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม 2552 และทวีความรุนแรงมากขึ้นในเดือนเมษายน ข้อมูล ณ วันที่ 24 เม.ย.52 พบผู้ป่วยมากกว่า 854 ราย เสียชีวิต 59 ราย ซึ่งผลตรวจทางห้องปฏิบัติการพบผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยันว่า มีสาเหตุจากเชื้อไข้หวัดใหญ่ชนิด A สายพันธุ์ H1N1 ซึ่งเป็นไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ของคน ที่มีสารพันธุกรรมของเชื้อไข้หวัดใหญ่ในหมูผสมอยู่ด้วย จำนวน 18 ราย ต่อมามีการพบผู้ป่วยยืนยันในประเทศสหรัฐอเมริกาอีก 20 ราย ที่ป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่จากเชื้อเดียวกัน ในมลรัฐแคลิฟอร์เนีย 7 ราย เท็กซัส 2 ราย ซึ่งทั้ง 2 มลรัฐนี้มีชายแดนติดกับประเทศเม็กซิโก มลรัฐนิวยอร์ค 8 ราย แคนซัส 2 ราย โอไฮโอ 1 ราย และ แต่ไม่มีผู้เสียชีวิต
เนื่องจากเป็นเชื้อสายพันธุ์ใหม่ และข้อมูลการสอบสวนโรค บ่งชี้ว่า การระบาดเป็นการติดต่อจากคนสู่คน และมีผู้เสียชีวิต ทำให้เกิดความกังวลว่าอาจเกิดการระบาดใหญ่ขยายตัวไปประเทศอื่น องค์การอนามัยโลกกำลังส่งผู้เชี่ยวชาญประสานงานป้องกันควบคุมโรคร่วมกับรัฐบาลเม็กซิโก รวมทั้งติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด โดยขณะนี้ องค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้สถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่ที่ระบาดในเม็กซิโก เป็นภาวะฉุกเฉินทางด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ (Public Health Emergency of International Concern : PHEIC ). เมื่อวันที่ 25 เม.ย.52 และแจ้งเตือนให้ทุกประเทศเพิ่มระดับความเข้มข้นของการเฝ้าระวังการระบาดของกลุ่มอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่และปอดอักเสบชนิดรุนแรง แต่ยังไม่แนะนำให้จำกัดการเดินทางหรือการค้าระหว่างประเทศ
อย่างไรก็ดี หลายประเทศได้ออกมาตรการคัดกรองผู้เดินทางจากเม็กซิโกและสหรัฐอเมริกาแล้ว เช่น ประเทศจีน รัสเซีย ไต้หวัน โบลิเวีย มีมาตรการกักกันผู้ป่วยที่มีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ ฮ่องกงและเกาหลีใต้ออกคำเตือนเรื่องการเดินทางไปยังเมืองเม็กซิโกซิตี้และอีก 3 จังหวัด โปแลนด์และเวเนซุเอลาแนะนำให้ประชาชนของตนเลื่อนการเดินทางไปยังประเทศเม็กซิโกและสหรัฐอเมริกา ในขณะที่บางประเทศได้เพิ่มมาตรการคัดกรองสุกรและเข้มงวดหรือห้ามการนำเข้าเนื้อสุกร
สำหรับประเทศไทย จากการเฝ้าระวังโรคของกระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่ต้นปี 2552 จนถึงขณะนี้ พบผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ จำนวน 3,159 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต ซึ่งไม่แตกต่างกับช่วงเวลาเดียวกันในปี 2551 และจากการตรวจชันสูตรทางห้องปฏิบัติการ ในประเทศไทยยังไม่เคยพบเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ ดังกล่าว
ในการรายงานโรคนี้ ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า “Swine Flu” หรือไข้หวัดใหญ่สุกร โดยปกติแล้ว ไข้หวัดใหญ่สุกรเป็นโรคทางเดินหายใจที่เกิดขึ้นในสุกร มีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ หลายชนิด เช่น H1N1, H1N2, H3N1, H3N2 และแต่ละชนิดมีหลากหลายสายพันธุ์ ตามปกติการเกิดโรคในสุกร บางครั้งอาจมีผู้ติดเชื้อจากสุกรและป่วยซึ่งไม่บ่อยนัก การติดเชื้อเกิดโดย คนหายใจเอาละอองฝอยเมื่อสุกรไอ หรือจาม เข้าไป หรือการสัมผัสกับสุกร หรือสิ่งแวดล้อมที่สุกรอาศัยอยู่ อย่างไรก็ตามเชื้อไข้หวัดใหญ่ที่ระบาดในเม็กซิโกนี้ ผลการตรวจวิเคราะห์ในระดับพันธุกรรม พบว่า เป็นเชื้อสายพันธุ์ใหม่ที่พบในคน ซึ่งยังไม่เคยพบในสุกรมาก่อน และการระบาดดังกล่าว ไม่มีรายงานโรคนี้ระบาดในสุกรทั้งในประเทศเม็กซิโกและสหรัฐอเมริกา และผลการสอบสวนโรค ไม่พบผู้ใดติดโรคจากสุกร หากแต่เป็นการแพร่กระจายโรคอย่างรวดเร็วจากคนสู่คน เชื้อนี้มีความไวต่อยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์ และคาดว่า วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลของคน ซึ่งมีสายพันธุ์ H1N1 ประกอบอยู่ด้วย ไม่สามารถใช้ป้องกันเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ตัวนี้ได้
2. มาตรการและการดำเนินการของกระทรวงสาธารณสุข
ตั้งแต่ ปีพ.ศ. 2547 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนของไทย ได้ดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ระดับชาติในการแก้ไขปัญหาไข้หวัดนกรวมทั้งการเตรียมความพร้อมในการป้องกันและแก้ปัญหาการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ มาเป็นลำดับ ดังนั้นเมื่อเกิดการระบาดของไข้หวัดใหญ่ในเม็กซิโก จึงสามารถปรับใช้มาตรการดำเนินงานที่ได้เตรียมความพร้อมไว้ได้ สำหรับการระบาดในครั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินมาตรการแล้ว ดังนี้
2.1 เร่งรัดและเพิ่มระดับความเข้มข้นการเฝ้าระวังโรค
เร่งรัดและเพิ่มระดับความเข้มข้นการเฝ้าระวังการรายงานผู้ป่วยที่มีอยู่เดิม รวมทั้งขยายขอบเขตให้ครอบคลุมผู้ที่มีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่และปอดอักเสบรุนแรง โดยได้จัดทำแนวทางปฏิบัติเผยแพร่ให้กับหน่วยงานสถานบริการสาธารณสุขทั่วประเทศ กับ ทีมเฝ้าระวังและสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) ซึ่งมีจำนวนมากกว่า 1,030 ทีม และ ครอบคลุมทุกจังหวัดและอำเภอ เพื่อดำเนินการค้นหาผู้ป่วย ตรวจจับการระบาดได้อย่างรวดเร็ว และ ควบคุมได้ทันท่วงที
2.2 เตรียมพร้อมด้านการตรวจยืนยันเชื้อทางห้องปฏิบัติการ
ขณะนี้ทั่วประเทศ มีห้องตรวจทางห้องปฏิบัติการที่สามารถตรวจเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ซึ่งสามารถรายงานผลการตรวจได้ภายใน 4 ชั่วโมง มีจำนวน 14 แห่ง มีรถเคลื่อนที่ที่สามารถตรวจยืนยันเชื้อของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ 6 คัน เพราะมีการเชื่อมโยงเครือข่ายการชันสูตรทางห้องปฏิบัติการกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและศิริราชพยาบาล รวมทั้งองค์การอนามัยโลกและศูนย์ความร่วมมือไทย-สหรัฐ ด้านสาธารณสุข
2.3 เตรียมความพร้อมด้านการดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วย
เพื่อการวินิจฉัยโรคอย่างรวดเร็วและให้การรักษาได้ทันท่วงที กระทรวงสาธารณสุขได้เตรียมความพร้อมสำหรับสถานพยาบาล โดยจัดทำแนวทางการคัดกรองผู้ป่วยและการรักษาพยาบาล ส่งให้โรงพยาบาลต่างๆ ทั่วประเทศ และขณะนี้ได้มีการปรับปรุงตามสถานการณ์โรคเป็นระยะๆ รวมทั้งโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขได้จัดให้มีห้องแยกเพื่อดูแลผู้ป่วยทุกแห่ง ไว้พร้อมแล้ว
2.4 สำรองเวชภัณฑ์ อุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ
กระทรวงวาสาธารณสุข ได้สำรองยาต้านไวรัสและวัสดุ อุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อของบุคลากรสาธารณสุขไว้ เพื่อรักษาและป้องกันโรค โดยมีความมั่นใจว่าเพียงพอต่อการระบาดของโรค โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะแรกของการระบาด ซึ่งหากการระบาดของโรคขยายวงกว้างขึ้นภายในประเทศ กระทรวงสาธารณสุขก็พร้อมที่จะเพิ่มกำลังการผลิตสูงสุด เพื่อให้ได้เป้าหมายเพียงพอต่อความต้องการ
2.5 ให้สุขศึกษาและประชาสัมพันธ์
เพื่อให้ข้อมูลประชาชน ให้รู้ถึงสถานการณ์ที่ถูกต้องและรู้วิธีในการป้องกันโรคอย่างครบถ้วน โดยออกประกาศคำแนะนำประชาชนในการป้องกันโรคและดูแลสุขภาพผ่านช่องทางสื่อต่างๆ รวมทั้งเผยแพร่ทางเว็บไซต์กระทรวงสาธารณสุข (www.moph.go.th) และ สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ (http:// beid.ddc.moph.go.th) และ ศูนย์บริการข่าวสารเบอร์ 02-590-3333 ตลอด 24 ชั่วโมง โดย กระทรวงสาธารณสุขจะเสนอ ครม. ให้แต่งตั้งคณะกรรมการระดับชาติ เพื่อให้มีการประสานงานกับหน่วยงานทุกภาคส่วน
2.6 ตรวจผู้โดยสารที่เดินทางมาจากต่างประเทศ
กรมควบคุมโรคได้ติดตั้งเครื่องตรวจวัดอุณหภูมิ (Thermo Scan) ที่สนามบินนานาชาติ จังหวัดภูเก็ต เชียงใหม่ และ สนามบินสุวรรณภูมิ จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อคัดกรองผู้โดยสารที่มีอาการไข้ การเตรียมพร้อมที่จะใช้งานเมื่อมีความจำเป็นโดยจะดูแลผู้เดินทางให้ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด พร้อมแจกคำเตือนสุขภาพสำหรับผู้เดินทางเข้ามาในประเทศจากพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค ทั้งนี้เพื่อสร้างความมั่นใจให้ประชาชน ถึงความพร้อมมาตรการป้องกันควบคุมโรคของประเทศ อย่างมีประสิทธิภาพ
3. การกำกับดูแลการดำเนินงาน
การดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ระดับชาติข้างต้น อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ คณะกรรมการอำนวยการ ป้องกัน ควบคุม แก้ไขสถานการณ์โรคไข้หวัดนก และการเตรียมพร้อมสำหรับการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ ซึ่งได้เริ่มมีการแต่งตั้ง โดยคณะรัฐมนตรี มาตั้งแต่ปีพ.ศ.2547 และมีการทบทวนแต่งตั้งใหม่ เมื่อมีการปรับเปลี่ยนรัฐบาลแต่ละครั้ง ในขณะนี้ กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ทบทวนองค์ประกอบของคณะกรรมการดังกล่าว และนำเสนอต่อสำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2552 ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างรอการพิจารณาลงนามแต่งตั้งโดย พณฯ ท่านนายกรัฐมนตรี หากได้รับการลงนามแต่งตั้งแล้ว คณะกรรมการชุดนี้จะเป็นกลไกหลักในการประสานความร่วมมือระดับชาติ เพื่อรับมือกับการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ได้ต่อไป
4. การประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วน
กระทรวงสาธารณสุขจะเป็นแกนหลัก ในการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานทุกภาคส่วน เพื่อเตรียมพร้อมและรับมือกับการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ ตามแผนยุทธศาสตร์ระดับชาติและแผนปฏิบัติการแม่บทการเตรียมความพร้อมสำหรับการระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่ พ.ศ. 2552 ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้นำเสนอต่อ ครม. เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2552 และ ขณะนี้ กำลังอยู่ระหว่างรอการพิจารณาจากคณะรัฐมนตรี
แหล่งที่มา http://beid.ddc.moph.go.th/th/index.php?option=com_content&task=view&id=419844&Itemid=199
ไข้หวัแม็กซิโก 1
1. ไข้หวัดใหญ่ที่กำลังระบาดตามข่าวอยู่ในขณะนี้ คือโรคอะไร
โรคที่กำลังระบาดอยู่ในขณะนี้ เป็นโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ในคน แพร่ติดต่อระหว่างคนสู่คน ไม่พบว่ามีการติดต่อมาจากสุกร เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ เอช1 เอ็น1 (A/H1N1) ซึ่งเป็นเชื้อตัวใหม่ที่ไม่เคยพบทั้งในสุกรและในคน เป็นเชื้อที่เกิดจากการผสมสารพันธุกรรมของเชื้อไข้หวัดใหญ่ของสุกรเป็นส่วนใหญ่ และมีสารพันธุกรรมของเชื้อไข้หวัดใหญ่ของคน และเชื้อไข้หวัดที่พบในนกด้วย ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุขเรียกชื่อโรคนี้ในเบื้องต้นว่า “โรคไข้หวัดใหญ่ที่ระบาดในเม็กซิโก” ไปก่อน จนกว่าองค์การอนามัยโลกจะกำหนดชื่ออย่างเป็นทางการออกมา
2. เกิดการระบาดขึ้นที่ประเทศใดบ้าง
ตั้งแต่ช่วงกลางเดือนมีนาคม 2552 เป็นต้นมา เริ่มพบผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่และผู้ป่วยปอดบวม จากข้อมูลองค์การอนามัยโลก (ณ วันที่ 26 เมษายน 2552) มีผู้ป่วยที่สามารถยืนยันทางห้องปฏิบัติการได้ว่าติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่นี้ 18 ราย ขณะที่กระทรวงสาธารณสุขเม็กซิโกรายงานว่ามีผู้ป่วย 1,614 ราย เสียชีวิต 103 ราย ส่วนในสหรัฐอเมริกาพบผู้ป่วยติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เดียวกัน 20 ราย ใน 5 มลรัฐ ได้แก่ รัฐแคลิฟอร์เนีย 7 ราย เท็กซัส 2 ราย ซึ่งทั้ง 2 รัฐนี้มีชายแดนติดกับประเทศเม็กซิโก รัฐนิวยอร์ก 8 ราย แคนซัส 2 ราย โอไฮโอ 1 ราย ผู้ป่วยมีอาการไม่รุนแรง และไม่มีผู้เสียชีวิต
แหล่งที่มา http://beid.ddc.moph.go.th/th/index.php?option=com_content&task=view&id=419844&Itemid=199
3. เคยพบเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่นี้มีในประเทศไทยหรือไม่
จากระบบการเฝ้าระวังโรคของประเทศ ทั้งการเฝ้าระวังผู้ป่วยและการเฝ้าระวังทางห้องปฏิบัติการ ไม่เคยพบเชื้อดังกล่าวนี้ในประเทศไทย
4. คนติดโรคนี้ได้อย่างไร
คนส่วนใหญ่ติดโรคไข้หวัดใหญ่จากการถูกผู้ป่วยไอจามรดโดยตรง เนื่องจากมีเชื้อไวรัสอยู่ในเสมหะ น้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย แต่บางรายอาจได้รับเชื้อทางอ้อมผ่านทางมือหรือสิ่งของเครื่องใช้ที่ปนเปื้อนเชื้อ เช่น ผ้าเช็ดหน้า ลูกบิดประตู โทรศัพท์ แก้วน้ำ เป็นต้น
5. ขณะนี้สามารถรับประทานเนื้อหมูหรือผลิตภัณฑ์จากหมู ได้อย่างปลอดภัยหรือไม่
รับประทานได้อย่างปลอดภัย เนื่องจากเชื้อไว้รัสไข้หวัดใหญ่จะถูกทำลายได้ด้วยความร้อนจากการปรุงอาหารที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียสขึ้นไป และจากการสอบสวนโรคไม่เคยพบผู้ป่วยติดโรคจาการรับประทานเนื้อหมูที่ปรุงสุก
6. อาการของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่มีอะไรบ้าง
อาการใกล้เคียงกับอาการโรคไข้หวัดใหญ่ที่พบตามปกติ เช่น ไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ไอ เจ็บคอ อาจมีอาเจียน ท้องเสียด้วย ผู้ป่วยที่สหรัฐมีอาการไม่รุนแรง ส่วนใหญ่หายป่วยโดยไม่ต้องนอนโรงพยาบาล แต่ผู้ป่วยหลายรายในเม็กซิโก มีอาการปอดอักเสบรุนแรง (หอบ หายใจลำบาก) และเสียชีวิต
7. มียาชนิดใดบ้างที่สามารถรักษาโรคนี้ได้
ยาต้านไวรัสซึ่งใช้รักษาโรคไข้หวัดใหญ่นี้ได้ผล คือ ยา oseltamivir เป็นยาชนิดกิน และยา zanamivir เป็นยาชนิดพ่น แต่ผลการตรวจเชื้อไวรัสนี้ในประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่าเชื้อนี้ดื้อต่อยาต้านไวรัส amantadine และ rimantadine
8. ยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์ (Oseltamivir) ในไทย ขณะนี้มีพอเพียงหรือไม่
ประเทศไทยได้สำรองยานี้ไว้พอเพียงสำหรับการรักษาผู้ป่วย ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมควบคุมโรคได้สำรองยาที่นี้ไว้ พอเพียงเพื่อการควบคุมการระบาดจากเชื้อสายพันธุ์ใหม่ ณ จุดเกิดเหตุ โดยองค์การเภสัชกรรมผลิตยา GPO-A-Flu และพร้อมที่จะเพิ่มกำลังการผลิตสูงสุดหากเกิดการระบาดใหญ่
9. มีวัคซีนที่สามารถป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่นี้หรือไม่
ขณะนี้ยังไม่มี และวัคซีนไข้หวัดใหญ่ที่ผลิตใช้อยูในปัจจุบันไม่สามารถป้องกันไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่นี้ได้
10. คำแนะนำในการป้องกันการติดเชื้อ
1. หากไม่จำเป็น ควรเลื่อนหรือชะลอการเดินทางไปยังประเทศที่เป็นพื้นที่เกิดการระบาดจนกว่าสถานการณ์จะยุติลง
2. หากจำเป็นต้องเดินทางไปพื้นที่เกิดการระบาด ให้หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ที่มีอาการไอจาม หลีกเลี่ยงสถานที่แออัด พร้อมทั้งปฏิบัติตามข้อแนะนำของทางการในพื้นที่นั้นๆ อย่างเคร่งครัด
3. ผู้ที่เดินทางกลับมาจากพื้นที่เกิดการระบาด ถ้ามีอาการของไข้หวัดใหญ่ เช่น มีไข้ ไอ ปวดเมื่อยตามตัว เจ็บคอ ภายใน 7 วันหลังจากเดินทางกลับ ให้รีบปรึกษาแพทย์ เพื่อรับการรักษาและคำแนะนำในการปฏิบัติตนอย่างเข้มงวด
4. สร้างเสริมสุขภาพให้แข็งแรง โดย
4.1 รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะผักและผลไม้ ดื่มน้ำสะอาดให้พอเพียง
4.2 หมั่นล้างมือบ่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังการไอ จาม
4.3 นอนหลับพักผ่อนให้พอเพียง
4.4 ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
4.5 หากพบว่ามีผู้ป่วยที่มีอาการคล้ายโรคไข้หวัดใหญ่ภายในบ้านหรือสถานที่ทำงานเดียวกัน ต้องแจ้งสำนักงานสาธารณสุข เพื่อเข้าดำเนินการป้องกันการแพร่ระบาดในวงกว้าง
11. กระทรวงสาธารณสุขมีมาตรการดำเนินการป้องกันควบคุมโรคนี้อย่างไรบ้าง
มาตรการสำคัญ ได้แก่ การเร่งรัดและเพิ่มระดับความเข้มข้นการเฝ้าระวังโรคกลุ่มอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่และปอดอักเสบรุนแรง และการตรวจยืนยันเชื้อทางห้องปฏิบัติการ การดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วย สำรองเวชภัณฑ์ และอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ เครื่องตรวจวัดอุณหภูมิผู้เดินทาง (Infrared Thermo Scanner) ที่สนามบินนานาชาติ และการสื่อสารความเสี่ยง การให้สุขศึกษาประชาสัมพันธ์ และให้บริการข้อมูลแก่ประชาชน โดยศูนย์ฮ็อตไลน์ โทร. 02-590-3333 ตลอด 24 ชั่วโมง จัดทำข่าวแจก จัดการแถลงข่าว และจัดทำคำแนะนำประชาชนเผยแพร่ทางเว็บไซต์กระทรวงสาธารณสุข (www.moph.go.th) และ สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ (http://beid.ddc.moph.go.th/)
โรคที่กำลังระบาดอยู่ในขณะนี้ เป็นโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ในคน แพร่ติดต่อระหว่างคนสู่คน ไม่พบว่ามีการติดต่อมาจากสุกร เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ เอช1 เอ็น1 (A/H1N1) ซึ่งเป็นเชื้อตัวใหม่ที่ไม่เคยพบทั้งในสุกรและในคน เป็นเชื้อที่เกิดจากการผสมสารพันธุกรรมของเชื้อไข้หวัดใหญ่ของสุกรเป็นส่วนใหญ่ และมีสารพันธุกรรมของเชื้อไข้หวัดใหญ่ของคน และเชื้อไข้หวัดที่พบในนกด้วย ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุขเรียกชื่อโรคนี้ในเบื้องต้นว่า “โรคไข้หวัดใหญ่ที่ระบาดในเม็กซิโก” ไปก่อน จนกว่าองค์การอนามัยโลกจะกำหนดชื่ออย่างเป็นทางการออกมา
2. เกิดการระบาดขึ้นที่ประเทศใดบ้าง
ตั้งแต่ช่วงกลางเดือนมีนาคม 2552 เป็นต้นมา เริ่มพบผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่และผู้ป่วยปอดบวม จากข้อมูลองค์การอนามัยโลก (ณ วันที่ 26 เมษายน 2552) มีผู้ป่วยที่สามารถยืนยันทางห้องปฏิบัติการได้ว่าติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่นี้ 18 ราย ขณะที่กระทรวงสาธารณสุขเม็กซิโกรายงานว่ามีผู้ป่วย 1,614 ราย เสียชีวิต 103 ราย ส่วนในสหรัฐอเมริกาพบผู้ป่วยติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เดียวกัน 20 ราย ใน 5 มลรัฐ ได้แก่ รัฐแคลิฟอร์เนีย 7 ราย เท็กซัส 2 ราย ซึ่งทั้ง 2 รัฐนี้มีชายแดนติดกับประเทศเม็กซิโก รัฐนิวยอร์ก 8 ราย แคนซัส 2 ราย โอไฮโอ 1 ราย ผู้ป่วยมีอาการไม่รุนแรง และไม่มีผู้เสียชีวิต
แหล่งที่มา http://beid.ddc.moph.go.th/th/index.php?option=com_content&task=view&id=419844&Itemid=199
3. เคยพบเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่นี้มีในประเทศไทยหรือไม่
จากระบบการเฝ้าระวังโรคของประเทศ ทั้งการเฝ้าระวังผู้ป่วยและการเฝ้าระวังทางห้องปฏิบัติการ ไม่เคยพบเชื้อดังกล่าวนี้ในประเทศไทย
4. คนติดโรคนี้ได้อย่างไร
คนส่วนใหญ่ติดโรคไข้หวัดใหญ่จากการถูกผู้ป่วยไอจามรดโดยตรง เนื่องจากมีเชื้อไวรัสอยู่ในเสมหะ น้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย แต่บางรายอาจได้รับเชื้อทางอ้อมผ่านทางมือหรือสิ่งของเครื่องใช้ที่ปนเปื้อนเชื้อ เช่น ผ้าเช็ดหน้า ลูกบิดประตู โทรศัพท์ แก้วน้ำ เป็นต้น
5. ขณะนี้สามารถรับประทานเนื้อหมูหรือผลิตภัณฑ์จากหมู ได้อย่างปลอดภัยหรือไม่
รับประทานได้อย่างปลอดภัย เนื่องจากเชื้อไว้รัสไข้หวัดใหญ่จะถูกทำลายได้ด้วยความร้อนจากการปรุงอาหารที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียสขึ้นไป และจากการสอบสวนโรคไม่เคยพบผู้ป่วยติดโรคจาการรับประทานเนื้อหมูที่ปรุงสุก
6. อาการของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่มีอะไรบ้าง
อาการใกล้เคียงกับอาการโรคไข้หวัดใหญ่ที่พบตามปกติ เช่น ไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ไอ เจ็บคอ อาจมีอาเจียน ท้องเสียด้วย ผู้ป่วยที่สหรัฐมีอาการไม่รุนแรง ส่วนใหญ่หายป่วยโดยไม่ต้องนอนโรงพยาบาล แต่ผู้ป่วยหลายรายในเม็กซิโก มีอาการปอดอักเสบรุนแรง (หอบ หายใจลำบาก) และเสียชีวิต
7. มียาชนิดใดบ้างที่สามารถรักษาโรคนี้ได้
ยาต้านไวรัสซึ่งใช้รักษาโรคไข้หวัดใหญ่นี้ได้ผล คือ ยา oseltamivir เป็นยาชนิดกิน และยา zanamivir เป็นยาชนิดพ่น แต่ผลการตรวจเชื้อไวรัสนี้ในประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่าเชื้อนี้ดื้อต่อยาต้านไวรัส amantadine และ rimantadine
8. ยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์ (Oseltamivir) ในไทย ขณะนี้มีพอเพียงหรือไม่
ประเทศไทยได้สำรองยานี้ไว้พอเพียงสำหรับการรักษาผู้ป่วย ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมควบคุมโรคได้สำรองยาที่นี้ไว้ พอเพียงเพื่อการควบคุมการระบาดจากเชื้อสายพันธุ์ใหม่ ณ จุดเกิดเหตุ โดยองค์การเภสัชกรรมผลิตยา GPO-A-Flu และพร้อมที่จะเพิ่มกำลังการผลิตสูงสุดหากเกิดการระบาดใหญ่
9. มีวัคซีนที่สามารถป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่นี้หรือไม่
ขณะนี้ยังไม่มี และวัคซีนไข้หวัดใหญ่ที่ผลิตใช้อยูในปัจจุบันไม่สามารถป้องกันไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่นี้ได้
10. คำแนะนำในการป้องกันการติดเชื้อ
1. หากไม่จำเป็น ควรเลื่อนหรือชะลอการเดินทางไปยังประเทศที่เป็นพื้นที่เกิดการระบาดจนกว่าสถานการณ์จะยุติลง
2. หากจำเป็นต้องเดินทางไปพื้นที่เกิดการระบาด ให้หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ที่มีอาการไอจาม หลีกเลี่ยงสถานที่แออัด พร้อมทั้งปฏิบัติตามข้อแนะนำของทางการในพื้นที่นั้นๆ อย่างเคร่งครัด
3. ผู้ที่เดินทางกลับมาจากพื้นที่เกิดการระบาด ถ้ามีอาการของไข้หวัดใหญ่ เช่น มีไข้ ไอ ปวดเมื่อยตามตัว เจ็บคอ ภายใน 7 วันหลังจากเดินทางกลับ ให้รีบปรึกษาแพทย์ เพื่อรับการรักษาและคำแนะนำในการปฏิบัติตนอย่างเข้มงวด
4. สร้างเสริมสุขภาพให้แข็งแรง โดย
4.1 รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะผักและผลไม้ ดื่มน้ำสะอาดให้พอเพียง
4.2 หมั่นล้างมือบ่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังการไอ จาม
4.3 นอนหลับพักผ่อนให้พอเพียง
4.4 ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
4.5 หากพบว่ามีผู้ป่วยที่มีอาการคล้ายโรคไข้หวัดใหญ่ภายในบ้านหรือสถานที่ทำงานเดียวกัน ต้องแจ้งสำนักงานสาธารณสุข เพื่อเข้าดำเนินการป้องกันการแพร่ระบาดในวงกว้าง
11. กระทรวงสาธารณสุขมีมาตรการดำเนินการป้องกันควบคุมโรคนี้อย่างไรบ้าง
มาตรการสำคัญ ได้แก่ การเร่งรัดและเพิ่มระดับความเข้มข้นการเฝ้าระวังโรคกลุ่มอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่และปอดอักเสบรุนแรง และการตรวจยืนยันเชื้อทางห้องปฏิบัติการ การดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วย สำรองเวชภัณฑ์ และอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ เครื่องตรวจวัดอุณหภูมิผู้เดินทาง (Infrared Thermo Scanner) ที่สนามบินนานาชาติ และการสื่อสารความเสี่ยง การให้สุขศึกษาประชาสัมพันธ์ และให้บริการข้อมูลแก่ประชาชน โดยศูนย์ฮ็อตไลน์ โทร. 02-590-3333 ตลอด 24 ชั่วโมง จัดทำข่าวแจก จัดการแถลงข่าว และจัดทำคำแนะนำประชาชนเผยแพร่ทางเว็บไซต์กระทรวงสาธารณสุข (www.moph.go.th) และ สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ (http://beid.ddc.moph.go.th/)
วันพุธที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2552
ภูกระดึง
ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพทั่วไปของอุทยานแห่งชาติภูกระดึง เป็นภูเขาหินทรายยอดตัดอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของที่ราบสูงโคราช ใกล้กับด้านลาดทิศตะวันออกของเทือกเขาเพชรบูรณ์ ลักษณะโครงสร้างทางธรณีของภูกระดึงเกิดขึ้นในมหายุค Mesozoic เป็นหินในชุดโคราช ประกอบด้วยชั้นหินหมวดหินภูพานหมวดหินเสาขัว หมวดหินพระวิหาร และหมวดหินภูกระดึง พื้นที่ส่วนใหญ่ของภูเขาอยู่ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางระหว่าง 400-1,200 เมตร มีพื้นที่ราบบนยอดเขากว้างใหญ่คล้ายรูใบบอน ประกอบด้วยเนินเตี้ยๆ ยอดสูงสุดคือ ภูกุ่มข้าว สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,350 เมตร สภาพพื้นที่ราบบนยอดภูกระดึงมีส่วนสูงอยู่ทางด้านตะวันตกและตะวันออกเฉียงใต้ พื้นที่ค่อยๆ ลาดเทลงมาทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ทำให้ลำธารสายต่างๆ ที่เกิดจากแหล่งน้ำบนภูเขาไหลไปรวมกันทางด้านนี้ เป็นแหล่งต้นน้ำของลำน้ำพอง ซึ่งหล่อเลี้ยงเขื่อนอุบลรัตน์และเขื่อนหนองหวาย ในจังหวัดขอนแก่นและใกล้เคียง
ลักษณะภูมิอากาศ
ภูมิอากาศของอุทยานแห่งชาติภูกระดึงบริเวณที่ระดับต่ำตามเชิงเขา มีสภาพโดยทั่วไปใกล้เคียงกับบริเวณอื่นๆ ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนเมษายนถึงเดือนตุลาคม ฝนตกชุกที่สุดระหว่างเดือนสิงหาคม-กันยายน อุณหภูมิเฉลี่ยรายปี 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดในเดือนมกราคม และอุณหภูมิสูงสุดในเดือนเมษายน สภาพอากาศทั่วไปบนยอดภูกระดึง แตกต่างจากสภาพอากาศในที่ราบต่ำเป็นอย่างมาก โดยปริมาณน้ำฝนจะเพิ่มขึ้นอีกประมาณไม่ต่ำกว่าร้อยละ 30 ของปริมาณน้ำฝนบนที่ต่ำ เนื่องจากอิทธิพลของเมฆ/หมอกที่ปกคลุมยอดภูกระดึงเป็นเนืองนิจ ในช่วงเดือนธันวาคม-มกราคมอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยระหว่าง 0-10 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยระหว่าง 21-24 องศาเซลเซียส ส่วนในฤดูร้อนระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยระหว่าง 12-19 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยระหว่าง 23-30 องศาเซลเซียส อากาศบนยอดภูกระดึงมักจะแปรปรวน มีเมฆหมอก ลอยต่ำปกคลุมบ่อยครั้ง อากาศจึงค่อนข้างเย็นตลอดปี ในช่วงฤดูฝน มักเกิดภัยธรรมชาติ เช่น เกิดการพังทะลายของภูเขาและมีน้ำป่า ทางอุทยานแห่งชาติจึงกำหนดให้ปิด-เปิดการท่องเที่ยวเฉพาะบนยอดเขาภูกระดึง เพื่อความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว และให้สภาพธรรมชาติและสภาพแวดล้อมได้มีการพักฟื้นตัว หลังจากนักท่องเที่ยวไปเยี่ยมชมอย่างมากในแต่ละปี ดังนี้ ปิดฤดูการท่องเที่ยว ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน - 30 กันยายน ของทุกปี เปิดฤดูการท่องเที่ยว ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม - 31 พฤษภาคม ของทุกปี
สังคมพืชของภูกระดึง
ป่าเต็งรัง พบบนที่ราบเชิงเขาและบนที่ลาดชันจนถึงระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล ประมาณ 600 เมตร ประกอบด้วยพันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ เต็ง รัง เหียง พลวง กราด รกฟ้า อ้อยช้าง กว้าว มะกอกเลื่อม มะค่าแต้ ช้างน้าว ติ้วขน ยอป่า ฯลฯ พืชพื้นล่างประกอบด้วย หญ้าเพ็ก ขึ้นเป็นกอหนาแน่น แทรกด้วยไม้พุ่มและพืชล้มลุก
ป่าเบญจพรรณ พบตั้งแต่บนพื้นที่ราบเชิงเขาและที่ลาดชันตามไหล่เขารอบภูกระดึง จนถึงระดับความสูงจากน้ำทะเลประมาณ 950 เมตร พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ แดง ประดู่ป่า กระบก ตะแบกเลือด ยมหิน มะกอก งิ้วป่า แสมสาร มะค่าโมง ตะคร้ำ สมอไทย สำโรง โมกมัน ฯลฯ พืชพื้นล่างประกอบด้วยหญ้าและกอไผ่ของไผ่รวก ไผ่ไร่ ไผ่หลวง ไผ่ซางหม่น ไม้พุ่ม เช่น หนามคณฑา กะตังใบ สังกรณี ไผ่หวานบ้าน ฯลฯ ไม้เถา เช่น แก้วมือไว สายหยุด นมวัว ตีนตั่ง หนอนตายหยาก กลอย ฯลฯ พืชล้มลุก เช่น บุกใหญ่ ผักปราบ แห้วกระต่าย ฯลฯ พืชกาฝากและอิงอาศัย เช่น ข้าวก่ำนกยูง ดอกดิน ชายผ้าสีดา เป็นต้น
ป่าดิบแล้ง พบตามฝั่งลำธารของหุบเขาที่ชุ่มชื้นทางทิศตะวันออก ตะวันออกเฉียงเหนือ และทิศตะวันตก ตั้งแต่เชิงเขาจนถึงระดับความสูงประมาณ 950 เมตรจากระดับน้ำทะเล พันธุ์ไม้สำคัญได้แก่ ก่อ ตะเคียนทอง ยางแดง ยมหอม ตะแบกเปลือกบาง หว้า มะม่วงป่า สัตตบรรณ มะหาด คอแลน เชียด ฯลฯ พืชพื้นล่างแน่น เป็นพวกไม้พุ่ม ไม้เถา เช่น สร้อยอินทนิล กระทงลาย เถามวกขาว เล็บมือนาง กระไดลิง ฯลฯ พืชล้มลุก เช่น ข่าคม ก้ามกุ้ง ฯลฯ หวายและเฟินหลายชนิด
ป่าดิบเขา พบตั้งแต่ระดับ 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเลขึ้นไป ทางทิศเหนือและทิศตะวันตกเฉียงเหนือ พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ ก่วมแดง ทะโล้ สนสามพันปี พะอง จำปีป่า พญาไม้ ก่อเดือย ก่อหนาม ก่อหมู ส้านเขา รัก เหมือดคนดง เฉียงพร้านางแอ พะวา เดื่อหูกวาง ฯลฯ พืชพื้นล่างประกอบด้วยไม้พุ่ม เช่น กุหลาบแดง มือพระนารายณ์ ฮอมคำ จ๊าฮ่อม ฯลฯ ตามหน้าผาริมขอบภูพบปาล์มต้นสูงขึ้นห่างๆ ได้แก่ ค้อดอย ไม้เถา เช่น กระจับเขา เครือเขาน้ำ แก้มขาว หนามไข่ปู ใบก้นปิด ย่านหูเสือ เป็นต้น
ป่าสนเขา พบเฉพาะบนที่ราบยอดภูกระดึงที่ระดับความสูงประมาณ 1,200-1,350 เมตรจากระดับน้ำทะเล พันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ สนสองใบ ก่อเตี้ย ทะโล้ สารภีดอย มะเขื่อเถื่อน รัก ฯลฯ พืชพื้นล่างประกอบด้วย สนทราย ส้มแปะ กุหลาบขาว เม้าแดง พวงตุ้มหู นางคำ ฯลฯ ตามลานหินมีพืชชั้นต่ำพวกไลเคน ประเภทแนบกับหินเป็นแผ่น และประเภทเป็นฟองเรียก ฟองหิน ปกคลุมทั่วไป นอกจากนี้จะพบเอื้องคำหิน ม้าวิ่ง และเขากวาง ซึ่งเป็นกล้วยไม้ที่ออกเป็นกอหนาแน่น พืชล้มลุก เช่น ดาวเรืองภู ว่านคางคก ต่างหูขาว เนียมดอกธูป แววมยุรา หญ้าข้าวก่ำขาว โสภา เทียนภู เปราะภู ดอกหรีด ขนนกยูง หญ้าเหลี่ยม น้ำเต้าพระฤาษี กูดเกี๊ยะ เป็นต้น บนพื้นดินที่ชุ่มแฉะ มอสจำพวกข้าวตอกฤาษีหลายชนิดขึ้นทับถมแน่น คล้ายผืนพรม บางแห่งมีพืชล้มลุกขนาดเล็กหลายชนิดขึ้นปะปนกันแน่น เช่น กระดุมเงิน สาหร่ายข้าวเหนียว ดุสิตา และหญ้าข้าวก่ำ
ภูกระดึง ได้ชื่อว่าเป็นแหล่งที่มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่อย่างชุกชุม เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศประกอบไปด้วยป่าไม้ ทุ่งหญ้าและลำธาร ซึ่งเป็นแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์ สัตว์ป่าภูกระดึงมีหลายชนิดที่พบเห็นทั่วไป ได้แก่ ช้างป่า เก้ง กวางป่า หมูป่า ลิงกัง ลิงลม บ่าง กระรอกหลากสี กระแต หนูหริ่งนาหางยาว ตุ่น เม่นหางพวง พังพอน อีเห็น เหยี่ยวรุ้ง นกเขาเปล้า นกเขาใหญ่ นกกระปูดใหญ่ นกเค้ากู่ นกตะขาบทุ่ง นกโพระดกคอสีฟ้า นกตีทอง นกหัวขวานสามนิ้วหลังทอง นกนางแอ่นสะโพกแดง นกเด้าดินสวน นกอุ้มบาตร์ นกขี้เถ้าใหญ่ นกกระทาทุ่ง นกพญาไฟใหญ่ นกกางเขนดง นกจาบดินอกลาย นกขมิ้นดง ตุ๊กแก จิ้งจกหางแบนเล็ก กิ้งก่าสวน จิ้งเหลนบ้าน เต่าเหลือง งูทางมะพร้าว งูลายสอบ้าน งูจงอาง งูเก่า งูเขียวหางไหม้ อึ่งอี๊ดหลังลาย เขียดหนอง คางคก กบหูใหญ่ ปาดแคระ และมีเต่าชนิดหนึ่งซึ่งหาได้ยาก คือ เต่าปูลู หรือ “เต่าหาง” เป็นเต่าที่หางยาว อาศัยอยู่ตามลำธารในป่าเขาระดับสูงของประเทศไทย กัมพูชา และ ลาว
ข้อห้ามต่างๆ ของอุทยานแห่งชาติภูกระดึง
ห้ามก่อไฟเพื่อช่วยกันรักษาสภาพแวดล้อม มิให้ถูกทำลายลงไปอุทยานแห่งชาติภูกระดึง จึงห้ามมิให้นักท่องเที่ยวเก็บกิ่งไม้มาเพื่อทำการก่อไฟ หรือกระทำการอื่นใด ที่เสียหายต่อทรัพยากรธรรมชาติ สำหรับนักท่องเที่ยวที่นำอาหารขึ้นไปประกอบและหุงต้มเอง ขอให้จัดเตรียมเตาแก๊สขึ้นไปด้วย และประกอบการหุงต้มภายในบริเวณที่จัดไว้ให้เท่านั้นห้ามนำสัตว์เลี้ยงขึ้นเขานักท่องเที่ยวท่านใดนำสัตว์เลี้ยงมาด้วย เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้สัตว์เลี้ยงของท่านซึ่งอาจจะเป็นพาหะนำเชื้อโรคไปสู่สัตว์ป่า และทำร้ายนักท่องเที่ยว ขอให้นำสัตว์เลี้ยงหรือสุนัขของท่านไปฝากไว้กับเจ้าหน้าที่ที่ด่านตรวจทางเข้าอุทยานฯ ซึ่งอุทยานแห่งชาติภูกระดึงจัดให้มีเจ้าหน้าที่ดูแลตลอด 24 ชั่วโมงห้ามนำโฟมเข้าในเขตอุทยานแห่งชาติอุทยานแห่งชาติภูกระดึง ห้ามมิให้นำภาชนะที่ทำด้วยโฟมเข้าไปในเขตอุทยานแห่งชาติโดยเด็ดขาด ทั้งนี้เพื่อเป็ฯการลดปริมาณมลพิษและขยะที่ย่อยสลายยาก ซึ่งดำเนินการตามประกาศกรอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ฉบับลงวันที่ 27 มกราคม 2546 เรื่อง ห้ามนำภาชนะที่ทำด้วยโฟมเข้าไปในเขตอุทยานแห่งชาติ
http://th.upload.sanook.com/A0/39ef8211a359089c9bf62b89458b3954 อุทยานแห่งชาติภูกระดึง
สภาพทั่วไปของอุทยานแห่งชาติภูกระดึง เป็นภูเขาหินทรายยอดตัดอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของที่ราบสูงโคราช ใกล้กับด้านลาดทิศตะวันออกของเทือกเขาเพชรบูรณ์ ลักษณะโครงสร้างทางธรณีของภูกระดึงเกิดขึ้นในมหายุค Mesozoic เป็นหินในชุดโคราช ประกอบด้วยชั้นหินหมวดหินภูพานหมวดหินเสาขัว หมวดหินพระวิหาร และหมวดหินภูกระดึง พื้นที่ส่วนใหญ่ของภูเขาอยู่ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางระหว่าง 400-1,200 เมตร มีพื้นที่ราบบนยอดเขากว้างใหญ่คล้ายรูใบบอน ประกอบด้วยเนินเตี้ยๆ ยอดสูงสุดคือ ภูกุ่มข้าว สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,350 เมตร สภาพพื้นที่ราบบนยอดภูกระดึงมีส่วนสูงอยู่ทางด้านตะวันตกและตะวันออกเฉียงใต้ พื้นที่ค่อยๆ ลาดเทลงมาทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ทำให้ลำธารสายต่างๆ ที่เกิดจากแหล่งน้ำบนภูเขาไหลไปรวมกันทางด้านนี้ เป็นแหล่งต้นน้ำของลำน้ำพอง ซึ่งหล่อเลี้ยงเขื่อนอุบลรัตน์และเขื่อนหนองหวาย ในจังหวัดขอนแก่นและใกล้เคียง
ลักษณะภูมิอากาศ
ภูมิอากาศของอุทยานแห่งชาติภูกระดึงบริเวณที่ระดับต่ำตามเชิงเขา มีสภาพโดยทั่วไปใกล้เคียงกับบริเวณอื่นๆ ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนเมษายนถึงเดือนตุลาคม ฝนตกชุกที่สุดระหว่างเดือนสิงหาคม-กันยายน อุณหภูมิเฉลี่ยรายปี 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดในเดือนมกราคม และอุณหภูมิสูงสุดในเดือนเมษายน สภาพอากาศทั่วไปบนยอดภูกระดึง แตกต่างจากสภาพอากาศในที่ราบต่ำเป็นอย่างมาก โดยปริมาณน้ำฝนจะเพิ่มขึ้นอีกประมาณไม่ต่ำกว่าร้อยละ 30 ของปริมาณน้ำฝนบนที่ต่ำ เนื่องจากอิทธิพลของเมฆ/หมอกที่ปกคลุมยอดภูกระดึงเป็นเนืองนิจ ในช่วงเดือนธันวาคม-มกราคมอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยระหว่าง 0-10 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยระหว่าง 21-24 องศาเซลเซียส ส่วนในฤดูร้อนระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยระหว่าง 12-19 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยระหว่าง 23-30 องศาเซลเซียส อากาศบนยอดภูกระดึงมักจะแปรปรวน มีเมฆหมอก ลอยต่ำปกคลุมบ่อยครั้ง อากาศจึงค่อนข้างเย็นตลอดปี ในช่วงฤดูฝน มักเกิดภัยธรรมชาติ เช่น เกิดการพังทะลายของภูเขาและมีน้ำป่า ทางอุทยานแห่งชาติจึงกำหนดให้ปิด-เปิดการท่องเที่ยวเฉพาะบนยอดเขาภูกระดึง เพื่อความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว และให้สภาพธรรมชาติและสภาพแวดล้อมได้มีการพักฟื้นตัว หลังจากนักท่องเที่ยวไปเยี่ยมชมอย่างมากในแต่ละปี ดังนี้ ปิดฤดูการท่องเที่ยว ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน - 30 กันยายน ของทุกปี เปิดฤดูการท่องเที่ยว ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม - 31 พฤษภาคม ของทุกปี
สังคมพืชของภูกระดึง
ป่าเต็งรัง พบบนที่ราบเชิงเขาและบนที่ลาดชันจนถึงระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล ประมาณ 600 เมตร ประกอบด้วยพันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ เต็ง รัง เหียง พลวง กราด รกฟ้า อ้อยช้าง กว้าว มะกอกเลื่อม มะค่าแต้ ช้างน้าว ติ้วขน ยอป่า ฯลฯ พืชพื้นล่างประกอบด้วย หญ้าเพ็ก ขึ้นเป็นกอหนาแน่น แทรกด้วยไม้พุ่มและพืชล้มลุก
ป่าเบญจพรรณ พบตั้งแต่บนพื้นที่ราบเชิงเขาและที่ลาดชันตามไหล่เขารอบภูกระดึง จนถึงระดับความสูงจากน้ำทะเลประมาณ 950 เมตร พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ แดง ประดู่ป่า กระบก ตะแบกเลือด ยมหิน มะกอก งิ้วป่า แสมสาร มะค่าโมง ตะคร้ำ สมอไทย สำโรง โมกมัน ฯลฯ พืชพื้นล่างประกอบด้วยหญ้าและกอไผ่ของไผ่รวก ไผ่ไร่ ไผ่หลวง ไผ่ซางหม่น ไม้พุ่ม เช่น หนามคณฑา กะตังใบ สังกรณี ไผ่หวานบ้าน ฯลฯ ไม้เถา เช่น แก้วมือไว สายหยุด นมวัว ตีนตั่ง หนอนตายหยาก กลอย ฯลฯ พืชล้มลุก เช่น บุกใหญ่ ผักปราบ แห้วกระต่าย ฯลฯ พืชกาฝากและอิงอาศัย เช่น ข้าวก่ำนกยูง ดอกดิน ชายผ้าสีดา เป็นต้น
ป่าดิบแล้ง พบตามฝั่งลำธารของหุบเขาที่ชุ่มชื้นทางทิศตะวันออก ตะวันออกเฉียงเหนือ และทิศตะวันตก ตั้งแต่เชิงเขาจนถึงระดับความสูงประมาณ 950 เมตรจากระดับน้ำทะเล พันธุ์ไม้สำคัญได้แก่ ก่อ ตะเคียนทอง ยางแดง ยมหอม ตะแบกเปลือกบาง หว้า มะม่วงป่า สัตตบรรณ มะหาด คอแลน เชียด ฯลฯ พืชพื้นล่างแน่น เป็นพวกไม้พุ่ม ไม้เถา เช่น สร้อยอินทนิล กระทงลาย เถามวกขาว เล็บมือนาง กระไดลิง ฯลฯ พืชล้มลุก เช่น ข่าคม ก้ามกุ้ง ฯลฯ หวายและเฟินหลายชนิด
ป่าดิบเขา พบตั้งแต่ระดับ 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเลขึ้นไป ทางทิศเหนือและทิศตะวันตกเฉียงเหนือ พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ ก่วมแดง ทะโล้ สนสามพันปี พะอง จำปีป่า พญาไม้ ก่อเดือย ก่อหนาม ก่อหมู ส้านเขา รัก เหมือดคนดง เฉียงพร้านางแอ พะวา เดื่อหูกวาง ฯลฯ พืชพื้นล่างประกอบด้วยไม้พุ่ม เช่น กุหลาบแดง มือพระนารายณ์ ฮอมคำ จ๊าฮ่อม ฯลฯ ตามหน้าผาริมขอบภูพบปาล์มต้นสูงขึ้นห่างๆ ได้แก่ ค้อดอย ไม้เถา เช่น กระจับเขา เครือเขาน้ำ แก้มขาว หนามไข่ปู ใบก้นปิด ย่านหูเสือ เป็นต้น
ป่าสนเขา พบเฉพาะบนที่ราบยอดภูกระดึงที่ระดับความสูงประมาณ 1,200-1,350 เมตรจากระดับน้ำทะเล พันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ สนสองใบ ก่อเตี้ย ทะโล้ สารภีดอย มะเขื่อเถื่อน รัก ฯลฯ พืชพื้นล่างประกอบด้วย สนทราย ส้มแปะ กุหลาบขาว เม้าแดง พวงตุ้มหู นางคำ ฯลฯ ตามลานหินมีพืชชั้นต่ำพวกไลเคน ประเภทแนบกับหินเป็นแผ่น และประเภทเป็นฟองเรียก ฟองหิน ปกคลุมทั่วไป นอกจากนี้จะพบเอื้องคำหิน ม้าวิ่ง และเขากวาง ซึ่งเป็นกล้วยไม้ที่ออกเป็นกอหนาแน่น พืชล้มลุก เช่น ดาวเรืองภู ว่านคางคก ต่างหูขาว เนียมดอกธูป แววมยุรา หญ้าข้าวก่ำขาว โสภา เทียนภู เปราะภู ดอกหรีด ขนนกยูง หญ้าเหลี่ยม น้ำเต้าพระฤาษี กูดเกี๊ยะ เป็นต้น บนพื้นดินที่ชุ่มแฉะ มอสจำพวกข้าวตอกฤาษีหลายชนิดขึ้นทับถมแน่น คล้ายผืนพรม บางแห่งมีพืชล้มลุกขนาดเล็กหลายชนิดขึ้นปะปนกันแน่น เช่น กระดุมเงิน สาหร่ายข้าวเหนียว ดุสิตา และหญ้าข้าวก่ำ
ภูกระดึง ได้ชื่อว่าเป็นแหล่งที่มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่อย่างชุกชุม เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศประกอบไปด้วยป่าไม้ ทุ่งหญ้าและลำธาร ซึ่งเป็นแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์ สัตว์ป่าภูกระดึงมีหลายชนิดที่พบเห็นทั่วไป ได้แก่ ช้างป่า เก้ง กวางป่า หมูป่า ลิงกัง ลิงลม บ่าง กระรอกหลากสี กระแต หนูหริ่งนาหางยาว ตุ่น เม่นหางพวง พังพอน อีเห็น เหยี่ยวรุ้ง นกเขาเปล้า นกเขาใหญ่ นกกระปูดใหญ่ นกเค้ากู่ นกตะขาบทุ่ง นกโพระดกคอสีฟ้า นกตีทอง นกหัวขวานสามนิ้วหลังทอง นกนางแอ่นสะโพกแดง นกเด้าดินสวน นกอุ้มบาตร์ นกขี้เถ้าใหญ่ นกกระทาทุ่ง นกพญาไฟใหญ่ นกกางเขนดง นกจาบดินอกลาย นกขมิ้นดง ตุ๊กแก จิ้งจกหางแบนเล็ก กิ้งก่าสวน จิ้งเหลนบ้าน เต่าเหลือง งูทางมะพร้าว งูลายสอบ้าน งูจงอาง งูเก่า งูเขียวหางไหม้ อึ่งอี๊ดหลังลาย เขียดหนอง คางคก กบหูใหญ่ ปาดแคระ และมีเต่าชนิดหนึ่งซึ่งหาได้ยาก คือ เต่าปูลู หรือ “เต่าหาง” เป็นเต่าที่หางยาว อาศัยอยู่ตามลำธารในป่าเขาระดับสูงของประเทศไทย กัมพูชา และ ลาว
ข้อห้ามต่างๆ ของอุทยานแห่งชาติภูกระดึง
ห้ามก่อไฟเพื่อช่วยกันรักษาสภาพแวดล้อม มิให้ถูกทำลายลงไปอุทยานแห่งชาติภูกระดึง จึงห้ามมิให้นักท่องเที่ยวเก็บกิ่งไม้มาเพื่อทำการก่อไฟ หรือกระทำการอื่นใด ที่เสียหายต่อทรัพยากรธรรมชาติ สำหรับนักท่องเที่ยวที่นำอาหารขึ้นไปประกอบและหุงต้มเอง ขอให้จัดเตรียมเตาแก๊สขึ้นไปด้วย และประกอบการหุงต้มภายในบริเวณที่จัดไว้ให้เท่านั้นห้ามนำสัตว์เลี้ยงขึ้นเขานักท่องเที่ยวท่านใดนำสัตว์เลี้ยงมาด้วย เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้สัตว์เลี้ยงของท่านซึ่งอาจจะเป็นพาหะนำเชื้อโรคไปสู่สัตว์ป่า และทำร้ายนักท่องเที่ยว ขอให้นำสัตว์เลี้ยงหรือสุนัขของท่านไปฝากไว้กับเจ้าหน้าที่ที่ด่านตรวจทางเข้าอุทยานฯ ซึ่งอุทยานแห่งชาติภูกระดึงจัดให้มีเจ้าหน้าที่ดูแลตลอด 24 ชั่วโมงห้ามนำโฟมเข้าในเขตอุทยานแห่งชาติอุทยานแห่งชาติภูกระดึง ห้ามมิให้นำภาชนะที่ทำด้วยโฟมเข้าไปในเขตอุทยานแห่งชาติโดยเด็ดขาด ทั้งนี้เพื่อเป็ฯการลดปริมาณมลพิษและขยะที่ย่อยสลายยาก ซึ่งดำเนินการตามประกาศกรอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ฉบับลงวันที่ 27 มกราคม 2546 เรื่อง ห้ามนำภาชนะที่ทำด้วยโฟมเข้าไปในเขตอุทยานแห่งชาติ
http://th.upload.sanook.com/A0/39ef8211a359089c9bf62b89458b3954 อุทยานแห่งชาติภูกระดึง
วันจันทร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2552
เตือนภัยไข้หวัดแมก็กซิโก
รมว.สธ.ขอให้ประชาชนอย่าตื่นตระหนก ยันไม่ใช่โรคที่แพร่จากหมูสู่คน
นายวิทยา แก้วภราดัย รมว.สาธารณสุข ยืนยันพร้อมรับมือกับโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ที่ระบาดที่เม็กซิโกหรือที่เรียกกันก่อนหน้านี้ว่าไข้หวัดหมู (Swine flu) เพื่อไม่ให้แพร่ระบาดเข้าสู่ไทย โดยจะมีการติดตั้ง เครื่องตรวจวัดอุณหภูมิ (Thermo Scan) ที่สนามบินนานาชาติจังหวัดภูเก็ต เชียงใหม่ และสุวรรณภูมิ เพื่อคัดกรอง ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยง
อย่างไรก็ตาม กระทรวงสาธารณสุขยืนยันว่า เชื้อไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ดังกล่าวไม่ได้แพร่จากหมูสู่คน ดังนั้น กระทรวงจะไม่เรียกชื่อว่า ไข้หวัดหมู เพื่อป้องกันประชาชนเข้าใจผิด
“ขอให้ประชาชนเชื่อมั่นว่ามีการเตรียมความพร้อมในเรื่องนี้อย่างดีเยี่ยม สาธารณสุขจะไม่เรียกชื่อว่า ไข้หวัดหมู แต่ในระยะนี้จะเรียกว่า ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ที่ระบาดในเม็กซิโก ป้องกันการเข้าใจผิดของประชาชน และป้องกันผลกระทบต่อเศรษฐกิจ และไข้หวัดตัวนี้ยังไม่เคยแยกเชื้อจากหมูแต่แยกได้จากคน ยืนยันการระบาดที่เกิดขึ้นไม่ได้ติดต่อจากหมูสู่คน”รมว.สาธารณสุข กล่าวภายหลังประชุมผู้เชี่ยวชาญ ด้านการควบคุมโรคจากหน่วยงานภายในและนอกกระทรวงสาธารณสุข
รมว.สาธารณสุข กล่าวว่า ในที่ประชุมมีความเห็นว่าไม่ควรเรียกชื่อไวรัส เอช 1 เอ็น 1 ว่าไข้หวัดหมู แต่ควรเรียกชื่อ ในระยะนี้ว่า ไข้หวัดใหญ่ที่ระบาดในเม็กซิโก ซึ่งทางวิชาการเรียกว่า เชื้อไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ แคลิฟอร์เนีย 04 2009 (A/California/04/2009) ส่วนการเรียกชื่อโรคในระยะต่อไปจะฟังข้อมูลและคำแนะนำจากองค์การอนามัยโลกด้วย
สำหรับมาตรการเฝ้าระวังของไทยในหมู่บ้านจะใช้ อสม.และมีการเก็บตัวอย่างส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ และการแยกผู้ป่วยให้การรักษาโดยเร็วที่สุด หากสถานการณ์แพร่ระบาดรุนแรงขึ้นจะปรับความเข้มของมาตรการ เช่น อาจจะมีการตรวจคัดกรองคนที่มาจากพื้นที่เสี่ยง และมีการเตือนคนที่เข้ามาจากต่างประเทศ โดยจะมีการประชุมผู้เชี่ยวชาญระหว่างองค์การอนามัยโลกเพื่อพิจารณาเรื่องดังกล่าวในเร็วๆ นี้
ขณะที่กระทรวงตั้งศูนย์ปฏิบัติการที่กรมควบคุมโรค ซึ่งจะประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้บริหารที่เกี่ยวข้องทุกวัน เพื่อประเมินสถานการณ์และความเสี่ยงที่เชื้ออาจจะกระจายเข้าสู่ประเทศ และปรับมาตรการป้องกันและแก้ไขให้เหมาะสมกับสถานการณ์
โดยวาง 5 มาตรการหลัก คือ การเฝ้าระวังโรคที่มีความเข้มแข็ง ค้นหาผู้ป่วยได้อย่างครบถ้วนและไวที่สุด เพื่อควบคุมได้อย่างรวดเร็ว โดยมีทีมเฝ้าระวังและสอบสวนเคลื่อนที่เร็วกว่า 1,000 ทีม ครอบคลุมทุกจังหวัดและอำเภอ
การตรวจยืนยันเชื้อทางห้องปฏิบัติการ ขณะนี้ทั่วประเทศสามารถตรวจเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่และรายงานผลยืนยันได้ภายใน 4 ชั่วโมง จำนวน 14 แห่ง มีรถตรวจยืนยันเชื้อเคลื่อนที่ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ 6 คัน เชื่อมโยงเครือข่ายการชันสูตรทางห้องปฏิบัติการกับมหาวิทยาลัยต่างๆ, การดูแลรักษาผู้ป่วย ต้องวินิจฉัยเร็ว รักษาได้ทันท่วงที
การเตรียมเวชภัณฑ์ อุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ ซึ่งไทยมีสต็อคยา ขณะนี้มียาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์ สำรองไว้ 3.2 ล้านเม็ด และยังไม่มีปัญหาการดื้อยา หากจำเป็นต้องใช้เพิ่มสามารถให้องค์การเภสัชกรรมผลิตได้อีกอย่างรวดเร็ว มีหน้ากากอนามัยชนิดเอ็น 95 กว่า 5 แสนชิ้น หน้ากากอนามัยทั่วไปเกือบ 3 ล้านชิ้น จะสั่งซื้อยาและอุปกรณ์เหล่านี้เพิ่มเติม และการให้ข้อมูลประชาชน ให้รู้สถานการณ์ที่ถูกต้องและรู้วิธีในการป้องกันโรคอย่างครบถ้วน โดยจะเสนอ ครม.ให้แต่งตั้งคณะกรรมการระดับชาติ เพื่อให้มีการประสานงานกับทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐและเอกชน
สำหรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค ผู้แทนองค์การอนามัยโลกแจ้งว่า ที่เม็กซิโกได้รายงานตั้งแต่เดือน มี.ค.จนถึงขณะนี้มีผู้ป่วย 1,149 ราย ตาย 71 ราย อัตราป่วยตายประมาณ 6% ส่วนในประเทศอื่นๆ พบผู้ป่วยที่สหรัฐอเมริกา 5 รัฐ คือ แคลิฟอร์เนีย เท็กซัส แคนซัส นิวยอร์ค โอไฮโอ รวม 20 คน ไม่มีคนเสียชีวิต กำลังรอผลตรวจยืนยัน และมีผู้ป่วยที่สงสัยและกำลังติดตามตรวจสอบอยู่ที่อังกฤษและนิวซีแลนด์
นายวิทยา แก้วภราดัย รมว.สาธารณสุข ยืนยันพร้อมรับมือกับโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ที่ระบาดที่เม็กซิโกหรือที่เรียกกันก่อนหน้านี้ว่าไข้หวัดหมู (Swine flu) เพื่อไม่ให้แพร่ระบาดเข้าสู่ไทย โดยจะมีการติดตั้ง เครื่องตรวจวัดอุณหภูมิ (Thermo Scan) ที่สนามบินนานาชาติจังหวัดภูเก็ต เชียงใหม่ และสุวรรณภูมิ เพื่อคัดกรอง ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยง
อย่างไรก็ตาม กระทรวงสาธารณสุขยืนยันว่า เชื้อไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ดังกล่าวไม่ได้แพร่จากหมูสู่คน ดังนั้น กระทรวงจะไม่เรียกชื่อว่า ไข้หวัดหมู เพื่อป้องกันประชาชนเข้าใจผิด
“ขอให้ประชาชนเชื่อมั่นว่ามีการเตรียมความพร้อมในเรื่องนี้อย่างดีเยี่ยม สาธารณสุขจะไม่เรียกชื่อว่า ไข้หวัดหมู แต่ในระยะนี้จะเรียกว่า ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ที่ระบาดในเม็กซิโก ป้องกันการเข้าใจผิดของประชาชน และป้องกันผลกระทบต่อเศรษฐกิจ และไข้หวัดตัวนี้ยังไม่เคยแยกเชื้อจากหมูแต่แยกได้จากคน ยืนยันการระบาดที่เกิดขึ้นไม่ได้ติดต่อจากหมูสู่คน”รมว.สาธารณสุข กล่าวภายหลังประชุมผู้เชี่ยวชาญ ด้านการควบคุมโรคจากหน่วยงานภายในและนอกกระทรวงสาธารณสุข
รมว.สาธารณสุข กล่าวว่า ในที่ประชุมมีความเห็นว่าไม่ควรเรียกชื่อไวรัส เอช 1 เอ็น 1 ว่าไข้หวัดหมู แต่ควรเรียกชื่อ ในระยะนี้ว่า ไข้หวัดใหญ่ที่ระบาดในเม็กซิโก ซึ่งทางวิชาการเรียกว่า เชื้อไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ แคลิฟอร์เนีย 04 2009 (A/California/04/2009) ส่วนการเรียกชื่อโรคในระยะต่อไปจะฟังข้อมูลและคำแนะนำจากองค์การอนามัยโลกด้วย
สำหรับมาตรการเฝ้าระวังของไทยในหมู่บ้านจะใช้ อสม.และมีการเก็บตัวอย่างส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ และการแยกผู้ป่วยให้การรักษาโดยเร็วที่สุด หากสถานการณ์แพร่ระบาดรุนแรงขึ้นจะปรับความเข้มของมาตรการ เช่น อาจจะมีการตรวจคัดกรองคนที่มาจากพื้นที่เสี่ยง และมีการเตือนคนที่เข้ามาจากต่างประเทศ โดยจะมีการประชุมผู้เชี่ยวชาญระหว่างองค์การอนามัยโลกเพื่อพิจารณาเรื่องดังกล่าวในเร็วๆ นี้
ขณะที่กระทรวงตั้งศูนย์ปฏิบัติการที่กรมควบคุมโรค ซึ่งจะประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้บริหารที่เกี่ยวข้องทุกวัน เพื่อประเมินสถานการณ์และความเสี่ยงที่เชื้ออาจจะกระจายเข้าสู่ประเทศ และปรับมาตรการป้องกันและแก้ไขให้เหมาะสมกับสถานการณ์
โดยวาง 5 มาตรการหลัก คือ การเฝ้าระวังโรคที่มีความเข้มแข็ง ค้นหาผู้ป่วยได้อย่างครบถ้วนและไวที่สุด เพื่อควบคุมได้อย่างรวดเร็ว โดยมีทีมเฝ้าระวังและสอบสวนเคลื่อนที่เร็วกว่า 1,000 ทีม ครอบคลุมทุกจังหวัดและอำเภอ
การตรวจยืนยันเชื้อทางห้องปฏิบัติการ ขณะนี้ทั่วประเทศสามารถตรวจเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่และรายงานผลยืนยันได้ภายใน 4 ชั่วโมง จำนวน 14 แห่ง มีรถตรวจยืนยันเชื้อเคลื่อนที่ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ 6 คัน เชื่อมโยงเครือข่ายการชันสูตรทางห้องปฏิบัติการกับมหาวิทยาลัยต่างๆ, การดูแลรักษาผู้ป่วย ต้องวินิจฉัยเร็ว รักษาได้ทันท่วงที
การเตรียมเวชภัณฑ์ อุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ ซึ่งไทยมีสต็อคยา ขณะนี้มียาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์ สำรองไว้ 3.2 ล้านเม็ด และยังไม่มีปัญหาการดื้อยา หากจำเป็นต้องใช้เพิ่มสามารถให้องค์การเภสัชกรรมผลิตได้อีกอย่างรวดเร็ว มีหน้ากากอนามัยชนิดเอ็น 95 กว่า 5 แสนชิ้น หน้ากากอนามัยทั่วไปเกือบ 3 ล้านชิ้น จะสั่งซื้อยาและอุปกรณ์เหล่านี้เพิ่มเติม และการให้ข้อมูลประชาชน ให้รู้สถานการณ์ที่ถูกต้องและรู้วิธีในการป้องกันโรคอย่างครบถ้วน โดยจะเสนอ ครม.ให้แต่งตั้งคณะกรรมการระดับชาติ เพื่อให้มีการประสานงานกับทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐและเอกชน
สำหรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค ผู้แทนองค์การอนามัยโลกแจ้งว่า ที่เม็กซิโกได้รายงานตั้งแต่เดือน มี.ค.จนถึงขณะนี้มีผู้ป่วย 1,149 ราย ตาย 71 ราย อัตราป่วยตายประมาณ 6% ส่วนในประเทศอื่นๆ พบผู้ป่วยที่สหรัฐอเมริกา 5 รัฐ คือ แคลิฟอร์เนีย เท็กซัส แคนซัส นิวยอร์ค โอไฮโอ รวม 20 คน ไม่มีคนเสียชีวิต กำลังรอผลตรวจยืนยัน และมีผู้ป่วยที่สงสัยและกำลังติดตามตรวจสอบอยู่ที่อังกฤษและนิวซีแลนด์
เตือนภัยไข้หวัดแมก็กซิโก
เตือนภัย ไข้หวัดแม็กซิโก หรือ โรคไข้หวัดหมู เข้าขั้นวิกฤติร้ายแรง0 commentsBy admin
องค์การอนามัยโลกออกประกาศเตือนอันตรายจาก โรคไข้หวัดแม็กซิโก หรือ โรคไข้หวัดหมูู ที่ระบาดในเม็กซิโก และสหรัฐฯ เข้าขั้นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขทั่วโลก หลังมีรายงานผู้เสียชีวิตในเม็กซิโกกว่า 80 คนแล้ว
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานวันนี้ (26 เม.ย.)นางมาร์กาเร็ต ชาน ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก กล่าวเรียกร้องให้ทุกประเทศเพิ่มมาตรการเฝ้าระวังการระบาดของ โรคไข้หวัดแม็กซิโก หรือ โรคไข้หวัดหมูู ที่ทำให้มีอาการไข้ และปอดอักเสบอย่างรุนแรง
แถลงการณ์จากคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญขององค์การอนามัยโลกซึ่งประชุมฉุกเฉิน ร่วมกันระบุว่า การระบาดของ โรคไข้หวัดแม็กซิโก หรือ โรคไข้หวัดหมูู เป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชนอย่างร้ายแรง อย่างไรก็ดี ผู้เชี่ยวชาญเห็นพ้องต้องการข้อมูลเพิ่มเติมก่อนตัดสินใจปรับระดับเตือนภัย โรคไข้หวัดแม็กซิโก หรือ โรคไข้หวัดหมูู ซึ่งปัจจุบันอยู่ในระดับ 3 จากทั้งหมด 6 ระดับ
แถลงการณ์ ระบุว่า เชื้อไวรัสนี้เป็นสายพันธุ์เดียวกับ ไวรัส เอช1 เอ็น1 แต่มีความร้ายแรงเนื่องจากสามารถติดต่อสู่คนได้ โดยเป็นการรวมกันของไวรัสหมู คน และนก ก่อนหน้านี้องค์การอนามัยโลกเคยประกาศเตือนมาหลายปีก่อนนี้ว่า ไวรัสสายพันธุ์ใหม่อาจทำให้คนติดเชื้อและระบาดไปทั่วโลก จนอาจทำให้มีผู้เสียชีวิตนับล้าน ๆ คน.
องค์การอนามัยโลกออกประกาศเตือนอันตรายจาก โรคไข้หวัดแม็กซิโก หรือ โรคไข้หวัดหมูู ที่ระบาดในเม็กซิโก และสหรัฐฯ เข้าขั้นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขทั่วโลก หลังมีรายงานผู้เสียชีวิตในเม็กซิโกกว่า 80 คนแล้ว
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานวันนี้ (26 เม.ย.)นางมาร์กาเร็ต ชาน ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก กล่าวเรียกร้องให้ทุกประเทศเพิ่มมาตรการเฝ้าระวังการระบาดของ โรคไข้หวัดแม็กซิโก หรือ โรคไข้หวัดหมูู ที่ทำให้มีอาการไข้ และปอดอักเสบอย่างรุนแรง
แถลงการณ์จากคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญขององค์การอนามัยโลกซึ่งประชุมฉุกเฉิน ร่วมกันระบุว่า การระบาดของ โรคไข้หวัดแม็กซิโก หรือ โรคไข้หวัดหมูู เป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชนอย่างร้ายแรง อย่างไรก็ดี ผู้เชี่ยวชาญเห็นพ้องต้องการข้อมูลเพิ่มเติมก่อนตัดสินใจปรับระดับเตือนภัย โรคไข้หวัดแม็กซิโก หรือ โรคไข้หวัดหมูู ซึ่งปัจจุบันอยู่ในระดับ 3 จากทั้งหมด 6 ระดับ
แถลงการณ์ ระบุว่า เชื้อไวรัสนี้เป็นสายพันธุ์เดียวกับ ไวรัส เอช1 เอ็น1 แต่มีความร้ายแรงเนื่องจากสามารถติดต่อสู่คนได้ โดยเป็นการรวมกันของไวรัสหมู คน และนก ก่อนหน้านี้องค์การอนามัยโลกเคยประกาศเตือนมาหลายปีก่อนนี้ว่า ไวรัสสายพันธุ์ใหม่อาจทำให้คนติดเชื้อและระบาดไปทั่วโลก จนอาจทำให้มีผู้เสียชีวิตนับล้าน ๆ คน.
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)